วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เชย์เลอร์ คาร์ล วิลเฮล์ม

                              คาร์ล วิลเฮล์ม เชย์เลอร์




    เชย์เลอร์เป็นนักเคมี 1 ใน 3 ของนักเคมีที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น อีก 2 ท่าน คือ เฮนรี่ คาเวนดิช (Henry Cavendish)   และโจเซฟ พริสต์ลีย์ (Joseph Priestly) นักเคมีทั้ง 3 ค่อนข้างจะมีลักษณะงานค้นคว้าที่คล้ายกัน แต่แตกต่าง ๆ กันไปตาม   ธาตุที่ค้นพบ โดยเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่ค้นพบก๊าซไนโตรเจน และคลอรีน

  เชย์เลอร์เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1742 ที่ประเทศสวีเดิน บิดาของเขาเป็นพ่อค้าที่ค่อนข้างยากจนและต้องการให้เชย์เลอร์ดำเนินกิจการต่อ ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์น้อยมาก แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนรักการอ่านหนังสือ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เคมี อีกทั้งเขามีโอกาสได้ทำงานเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการปรุงยาอยู่หลายปีและหลายแห่ง เช่น ที่โกเตเบิร์ก (Goteburg) มัลโม (Mulmo) สตอกโฮล์ม (Stockholm) อัปซาลา (Upsala) และโคปิง (Koping) ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้เรียนรู้เกี่ยวกับสารเคมีมากขึ้น
จากผลงานชิ้นต่าง ๆ ของเขาในปี ค.ศ. 1775 เชย์เลอร์ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมวิทยาศาสตร์ แห่งเมืองสตอกโฮม (Stockholm Academy of Scienceและเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเชย์เลอร์เป็นนักเคมีที่มีความพยายาม เขาสามารถค้นพบสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากมายเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1786 ที่เมืองโคปิง ซึ่งขณะนั้นเขามีอายุเพียง 44 ปี เท่านั้น

เมนเดล บิดาทางพันธุศาสตร์

                                เกรเกอร์ โจฮันน์ เมนเดล



         เมนเดลได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งพันธุศาสตร์ ด้วยผลงานการค้นพบความลับทางธรรมชาติ ที่ว่าด้วยการถ่ายทอด     ลักษณะต่าง ๆ ของพ่อแม่ไปยังลูกหลาน หรือที่เรียกว่า กรรมพันธุ์ (Heredity)

บิดาทางพันธุศาสตร์      เกรเกอร์ โยฮันน์ เมนเดล เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน สอนนักเรียน ถึงเรื่องพันธุ์กรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและ อเมริกาในปีต่อมาคือปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนัก ชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดอฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอร์เรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา    เขาได้รับการ สถาปนาสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสประจำโบสถ์ที่ Alt Brünn ภาระงานบริหารได้ทำให้เขาไม่มีเวลาทำการทดลองเรื่องการ ผสมพันธุ์พืชอีกเลย จนกระทั่งเขาเสียชีวิตลงในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ.1884 ขณะมีอายุได้ 61 ปี ด้วยโรคหัวใจวาย ศพของเขาได้ถูกนำ ไปฝังที่สุสานใกล้โบสถ์ ในพิธีศพมีสานุศิษย์และชาวบ้านที่ได้เดินทางมาไว้อาลัยนักบวชคนหนึ่ง ซึ่งได้อุทิศชีวิตให้ทานแก่ผู้ยากไร้ แต่ไม่มีใครเลยจะรู้สักนิดว่า พวกเขากำลังร่ำลาอาลัยนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลก